วันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2556

วิชานวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา PC54505 3(2-2-5)
(Innovation, Technology and Information in Education)


อาจารย์ผู้สอน ผศ.ดร.วิวรรธน์ จันทร์เทพย์ 
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
ภาคเรียนที่ 1 / 2556

คำอธิบายรายวิชา

          ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี นวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา ที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศ แหล่งเรียนรู้ การสร้าง การออกแบบ การนำไปใช้ การประเมินผล การปรับปรุงนวัตกรรม สามารถเลือกใช้ ออกแบบ สร้าง ปรับปรุงนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศสำหรับการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาที่จะรับผิดชอบสอนในอนาคตได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับระดับการศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี สามารถแสวงหาแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย และเพื่อส่งเสริมการเรียนรุ้ของผู้เรียน

วัตถุประสงค์

          เมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหากิจกรรมในบทเรียนแล้วจะมีความสามารถหรือพฤติกรรมอังนี้
          1.อธิบายความหมาย ความสำคัญ หลักการ และแนวคิดนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษาได้
          2. อธิบายบทบาท คุณค่า ประเภท และประโยชน์ของนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศการศึกษาได้
          3. อธิบายความสัมพันธ์ของนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศทางการศึกษาได้
          4. บอกขั้นตอนของการเกิดนวัตกรรม และเปรียบเทียบความแตกต่างกับเทคโนโลยีได้อย่างชัดเจน
          5. บอกความหมาย ขั้นตอนและกระบวนการของการเรียนรู้ การรับรู้ตามธรรมชาติของผู้เรียนแต่ละวัยได้
          6. วิเคราะห์สาเหตุในการนำนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศมาใช้ในการปัญหาทางการศึกษาได้
          7. ยกตัวอย่างนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศทางการศึกษาในยุคปัจจุบันได้
          8. ออกแบบและสร้างสรรค์นวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศทางการศึกษาได้
          9. ปรับปรุงและเลือกใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการศึกษากับการเรียนการสอนได้
          10. ประเมินผลนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศทางการศึกษาได้
          11. ระบุและเสนอแนะแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศทางการศึกษาได้
          12. ออกแบบการเรียนการสอนในรายวิชาที่จะรับผิดชอบสอนในอนาคตได้


เนื้อหาบทเรียน

          หน่วยการเรียนที่ 1 แนวคิด ทฤษฎี ความหมาย ความสำคัญของนวัตกรรม เทคโนโลยีและ สารสนเทศการศึกษา
          หน่วยการเรียนที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
          หน่วยการเรียนที่ 3 สื่อการเรียนการสอน
          หน่วยการเรียนที่ 4 วิธีระบบ
          หน่วยการเรียนที่ 5 จิตวิทยาการเรียนการสอน
          หน่วยการเรียนที่ 6 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้
          หน่วยการเรียนที่ 7 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
          หน่วยการเรียนที่ 8 หนังสืออีเล็กทรอนิกส์ (e-Book)
          หน่วยการเรียนที่ 9 สื่อมัลติมีเดีย (Multi-Media)
          หน่วยการเรียนที่ 10 การเรียนการสอนแบบผสมผสาน
กิจกรรมการเรียนการสอน

          1. รูปแบบการสอนเป็นการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (blended learning) ระหว่าง การเรียนการสอนในห้องเรียนปกติ(Face-to-Face or Traditional Classroom) กับ การเรียนการสอนบนออนไลน์โดยใช้เว็บบล็อก (Online Learning with Weblog)โดยใช้อัตราส่วน 39% - 79%
          2. เทคนิควิธีสอน
                    2.1 การบรรยายประกอบสื่อการเรียนการสอน
                    2.2 การมอบหมายงาน การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
                    2.3 การทำงานเป็นกลุ่มด้วยการแสดงความคิดเห็น
                              - การซักถาม
                              - การอภิปราย
                              - การทำแบบฝึกหัด
                              - การแสดงผลงาน
การบูรณาการกับความพอเพียง

          ความมีเหตุผล
          ความพอประมาณ
          ภูมิคุ้มกันในตนเองที่ดี
                    - เงื่อนไขความรู้ : รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง
                    - เงื่อนไขคุณธรรม : ซื่อสัตย์ แบ่งปัน



คุณลักษณะที่พึงประสงค์

          ผู้เรียนที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชานี้จะต้องเป็นผู้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์สำคัญได้แก่ ความซื่อสัตย์ โดยแสดงออกอย่างบูรณาการอย่างสัมพันธ์กับพฤติกรรมต่างๆไปพร้อมๆกับกิจกรรมการเรียนการสอนทุกขั้นตอน เช่น
                    - ความรับผิชอบและตรงต่อเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน
                    - มีความรักความสามัคคีในกลุ่มผู้เรียนร่วมวิชาเอกเดียวกันและวิชาเอกอื่นๆ
                    - ให้ความช่วยเหลือผู้อื่นด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์
                    - ใฝ่ดี ใฝ่รู้ สู้งาน
                    - มีความคิดสร้างสรรค์
                    - มีระเบียบวินัยในการแต่งกาย
                    - สุภาพ เสรีภาพ อ่อนน้อม และให้เกียรติผู้อื่น

แหล่งเรียนรู้

          1. ห้องสมุด
          2. อินเตอร์เน็ต
          3. เอกสารประกอบการสอน
          4. ตัวอย่างเว็บบล็อก
          5. สื่อของจริง ของตัวอย่าง
          6. ชุมชนท้องถิ่น
การวัดและประเมินผล

          1. การวัดผล
                    1.1 การเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน(คุณลักษณะที่พึงประสงค์) 10 %
                    1.2 เอกสารรายงาน การแสดงความคิดเห็นและการประเมิน (รายบุคคล) 10 %
                    1.3 เว็บบล็อก (รายบุคคล) 20 %
                    1.4 เว็บบล็อก (กลุ่ม) 20 %
                    1.4 การนำเสนอผลงานการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกับการเรียนการสอน 20 %
                    1.5 สอบปลายภาค 20 %

          2. การประเมินผล

                    ระดับคะแนน          80 – 100          ค่าระดับคะแนน            A
                    ระดับคะแนน          75 – 79            ค่าระดับคะแนน            B+
                    ระดับคะแนน          70 – 74            ค่าระดับคะแนน            B
                    ระดับคะแนน          65 – 69            ค่าระดับคะแนน            C+
                    ระดับคะแนน          60 – 64            ค่าระดับคะแนน            C
                    ระดับคะแนน          55 – 59            ค่าระดับคะแนน            D+
                    ระดับคะแนน          50 – 54            ค่าระดับคะแนน            D
                    ระดับคะแนน          0 – 4                ค่าระดับคะแนน            E


ความหมายของนวัตกรรม
 “นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม” แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฎิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย

ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา
           “นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )” หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet] เหล่านี้ เป็นต้น
ความหมายของเทคโนโลยี
          ความเจริญในด้านต่างๆ ที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นผลมาจากการศึกษาค้นคว้าทดลองประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ โดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เมื่อศึกษาค้นพบและทดลองใช้ได้ผลแล้ว ก็นำออกเผยแพร่ใช้ในกิจการด้านต่างๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาคุณภาพ และประสิทธิภาพในกิจการต่างๆ เหล่านั้น และวิชาการที่ว่าด้วยการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในกิจการด้านต่างๆ จึงเรียกกันว่า “วิทยาศาสตร์ประยุกต์” หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า “เทคโนโลยี”
เทคโนโลยีี หมายถึงการใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา ผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เรียกว่านักเทคโนโลยี (Technologist)
เทคโนโลยีทางการศึกษา
          เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ
          สภาเทคโนโลยีทางการศึกษานานาชาติได้ให้คำจำกัดความของ เทคโนโลยีทางการศึกษา ว่าเป็นการพัฒนาและประยุกต์ระบบเทคนิคและอุปกรณ์ ให้สามารถนำมาใช้ในสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น
เป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
      1. การขยายพิสัยของทรัพยากรของการเรียนรู้ กล่าวคือ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ มิได้หมายถึงแต่เพียงตำรา ครู และอุปกรณ์การสอน ที่โรงเรียนมีอยู่เท่านั้น แนวคิดทางเทคโนโลยีทางการศึกษา ต้องการให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนจากแหล่งความรู้ที่กว้างขวางออกไปอีก แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ครอบคลุมถึงเรื่องต่างๆ เช่น
    1.1 คน คนเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่สำคัญซึ่งได้แก่ ครู และวิทยากรอื่น ซึ่งอยู่นอกโรงเรียน เช่น เกษตรกร ตำรวจ บุรุษไปรษณีย์ เป็นต้น
    1.2 วัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ โสตทัศนวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องวิดีโอเทป ของจริงของจำลองสิ่งพิมพ์ รวมไปถึงการใช้สื่อมวลชนต่างๆ
    1.3 เทคนิค-วิธีการ แต่เดิมนั้นการเรียนการสอนส่วนมาก ใช้วิธีให้ครูเป็นคนบอกเนื้อหา แก่ผู้เรียนปัจจุบันนั้น เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองได้มากที่สุด ครูเป็นเพียง ผู้วางแผนแนะแนวทางเท่านั้น
   1.4 สถานที่ อันได้แก่ โรงเรียน ห้องปฏิบัติการทดลอง โรงฝึกงาน ไร่นา ฟาร์ม ที่ทำการรัฐบาล ภูเขา แม่น้ำ ทะเล หรือสถานที่ใด ๆ ที่ช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้เรียนได้
    2. การเน้นการเรียนรู้แบบเอกัตบุคคล ถึงแม้นักเรียนจะล้นชั้น และกระจัดกระจาย ยากแก่การจัดการศึกษาตามความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ นักการศึกษาและนักจิตวิทยาได้พยายามคิด หาวิธีนำเอาระบบการเรียนแบบตัวต่อตัวมาใช้ แต่แทนที่จะใช้ครูสอนนักเรียนทีละคน เขาก็คิด ‘แบบเรียนโปรแกรม’ ซึ่งทำหน้าที่สอน ซึ่งเหมือนกับครูมาสอน นักเรียนจะเรียนด้วยตนเอง จากแบบเรียนด้วยตนเองในรูปแบบเรียนเป็นเล่ม หรือเครื่องสอนหรือสื่อประสมหลายๆ อย่าง จะเรียนช้าหรือเร็วก็ทำได้ตามความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน
    3. การใช้วิธีวิเคราะห์ระบบในการศึกษา การใช้วิธีระบบ ในการปฏิบัติหรือแก้ปัญหา เป็นวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เชื่อถือได้ว่าจะสามารถแก้ปัญหา หรือช่วยให้งานบรรลุเป้าหมายได้ เนื่องจากกระบวนการของวิธีระบบ เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบของงานหรือของระบบ อย่างมีเหตุผล หาทางให้ส่วนต่าง ๆ ของระบบทำงาน ประสานสัมพันธ์กันอย่างมีประสิทธิภาพ
    4. พัฒนาเครื่องมือ-วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา วัสดุและเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการศึกษา หรือการเรียนการสอนปัจจุบันจะต้องมีการพัฒนา ให้มีศักยภาพ หรือขีดความสามารถในการทำงานให้สูงยิ่งขึ้นไปอีก

    

16 ความคิดเห็น:

  1. เฮียเบ๊นซ์ ก่อนอื่นรูปเฮียหล่อมากเลยอ่า 555 ที่เหลือก็มีแค่จัดเมนูซ้ายขวาและตรงกลางให้เท่ากัน และทำปกอีกสักหน่อย ส่วนอื่นๆ ก็ได้ตามที่อาจารย์กำหนดไว้เกือบหมดแล้วล่ะจ้าาา

    ตอบลบ
  2. บล็อกโดยรวมสวยค่ะ สรสันหวานเลย ดอกกุหลาบ สวยค่ะ

    ตอบลบ
  3. ชมน่อยนะรูปนายหล่อมากช่างต่างกับปัจจุบันอารัยจริง เข่าเรื่องแล้วนะบล๊อกก็ดูดีสวย

    ตอบลบ
  4. บล็อกสวยดีนะคะ รูปหล่อเหลือเกินแต่ข้างบล็อกทางด้านซ้ายปรับให้เท่ากันหน่อยนะคะ

    ตอบลบ
  5. หัวบล้อกน่ารักดี แต่ตัวหนังสือน่าจะใหญ่กว่านี้ เน้นตรง นวัตกรรม ส่วยเนื้อหาตัวหนังสือชัดเจน มีหลายสี ทำให้ดูสวยงาม น่าอ่าน ไม่ให้รู้สึกว่าไม่เบื่อ ด้านข้างมีลิ้ง รูปภาพ จัดแต่งได้สวย โดยรวม สวยๆ ^^

    ตอบลบ
  6. หัวบล๊อกสวยดีนะครับ มีขนาดใหญ่เด่น ตัวอักษรสวยหลากสี รูปโปรไฟล์ก็สวยๆๆ วีดีโอก็ครบถ้วนสมบูรณ์มีลิงค์มากมายให้เลือกเข้าไปชม พื้นหลังก็เรียบง่ายดูแล้วสบายตาดี ครับ

    ตอบลบ
  7. สวัสดีจร้า นายดำรงค์ คงเพิ่ม หัวบล็อกตกแต่งได้สวยงาม สีสันสดใส น่าชมกับการอ่าน ส่วนลิงค์ทั้ง2ด้านและเนื้อหาครบถ้วนสมบรูณ์ดี ขนาดของตัวหนังสือ พอดีกับการอ่านสควรปรังของสีให้มันเข้มมากกว่านี้ และควรที่จะมีที่ขันระหว่างหัวข้อแต่ละข้อนะจะ

    ตอบลบ
  8. ออกแบบบล็อกได้สวยงามดีมากครับ ส่วนของหัวบล็อกควรปรับปรุงเรื่องขนาดเพราะอาจขยายออกมากไปทำให้ภาพไม่สวยเท่าไร ส่วนของเนื้อหาถือว่าใช้สีได้หลากหลายน่าสนใจแต่น่าจะใส่ภาพปรือสิ่งอื่น ๆ มาประกอบแทรกเนื้อหาเพื่อเพิ่มความสนใจให้มากขึ้น ส่วนลิ้งและวีดีโออื่น ๆ น่าสนใจดีโดยส่วนรอมถือว่าใช้ได้ครับ :')

    ตอบลบ
  9. สวัสดีจ้า เบนซ์ เริ่มจากหัวบล๊อกนะจ๊ะ หัวบล๊อกสีพื้นหลังดูกลืนกับรูปไปนิดนะค่ะ ตัวหนังสือเน้นเห็นได้ชัดค่ะ เนื้อหาที่นำมาลงก็มีประโยชน์แก่ผู้เข้าชมมากค่ะ รูปที่นำมาก็สื่อความหมายได้ดีค่ะ สีอักษรของเนื้อหาก็อ่านง่านสบายตาดีค่ะ มีการเว้นระยะข้อความ ช่วยในการพักสายตาได้ดีค่ะ โดยรวมดูดีมากค่ะ

    ตอบลบ
  10. สวัสดีค่ะ เริ่มจากหัวบล็อกนะค่ะ หัวบล็อกสวยมาก แต่ตัวหนังสือกับพื้นหลังสือมันดูกลือนกันทำให้ตัวหนังสือไม่ค่อยเด่น
    ส่วนเนื้อหาดูครบทวนค่ะ สีสันสวยงาม ตัวหนังสือมีขนาดพอดี แต่ตัวหนังสือมันติดกันเกินไปจึงไม่ดึงดูดความสนใจในการอ่าน ด้านข้าง มีวีดิโอ และภาพตบแต่งสวยงาม ภาพรวมบล็อกนี้สวยงามมากค่ะ

    ตอบลบ
  11. หัวบล๊อกดูดีแล้ว คลิปวิดีโอก็เยอะหน้าสนใจเข้ากับเนื้อหามาก ภาพพื้นหลังเหมาะกับสีสันของบล๊อกมากส่วนเรื่องของลิงก์ชื่อเพื่อนครบถ้วนสมบูรณ์ดีและก็เรียงตามลำดับชื่อได้ถูกต้อง แต่มีปัญหาที่ต้องแก้ไขคือตรงสีตัวอักษรของชื่อเพื่อนมันดูไม่ค่อยชัดควรแก้ไขหน่อยนะคะคุณเบ้นซ์

    ตอบลบ
  12. เบ๊นซ์ ดำรงค์ : เนื้อหาครบถ้วนดี หัวบล็อกออกแบบได้สวยเลย สีของตัวอักษรมีความหลากหลาย โดยรวมแล้วดีมากจ้า :)

    ตอบลบ
  13. สวัสดีค่ะ เบ้นซ์ เริ่มจากหัวบล็อกก่อนเลยนะค่ะ หัวบล็อกมีการออกแบบที่สวยค่ะ ดูไม่ลายตา มีสีสันที่น่าอ่าน เนื้อหา ติดกันเกินไปนะค่ะ ควรจะเว้นบรรทัดบ้าง สีสันของตัวหนังสือสวยค่ะ ดูแล้วอ่านง่าย สบายตา ไม่ลายตา การตกแต่โดยรวมดูดีค่ะ วีดิโอมีเนื้อหาเข้ากับเนื้อหาดีค่ะ พื้นหลังสวยค่ะ

    ตอบลบ
  14. สวัสดีจ้า! แอบเข้ามาคอมเม้นให้เพื่อนน้า เริ่มจากหัวบล็อกก่อนเลยคะ การจัดเรียงตัวอักษรเป็นแนวเรียบง่ายสบายตาดีคะในส่วนของเนื้อหาครบถ้วน และการใส่สีตัวอักษรแบบไล่สีอ่านแล้วทำให้ดูไม่น่าเบื่อ+กับคลิปวิดีโอที่น่าสนใจ ทำออกมาได้ดีมากเลยทีเดียวขอชม ^ ^

    ตอบลบ
  15. สวัสดีจ้า ตุ่น" เริ่มจากหัวบล็อก ออกแบบได้สวยมาก ในส่วนของเนื้อหาเหมาะสม มีเนื้อหาที่ไม่มากไม่น้อยจนเกินไป อีกทั้งยังมีสื่อ VDO และรูปภาพ ประกอบ ทำให้ดูแล้วน่าอ่าน เพลิดเพลิน ดึงดูดความสนใจเป็นอย่างมากค่ะ โดยรวมถือว่ามีความหลากหลายน่าสนใจค่ะ

    ตอบลบ
  16. ดีจ้า คุณเบ้นซ์ ดำรงค์ หัวบล็อกนะ ออกแบบสวย แต่อาจจะมองมืดไปนิดสำหรับบางคน มีเนื้อหาที่ดหมาะสม ไม่น้อยไม่มากเกินไป ตัวหนังสือ บางส่วนควรปรับให้เหมือนกัน วีดีโอ ต่างๆ น่าสนใจ และเป็นการพักสายตาในการดูได้ ทำให้การอ่านดูน่าสนใจยิ่งขึ้น มีความหลากหลาย โดนภาพรวมแล้ว ถือว่าใช้ได้คะ

    ตอบลบ